ชาวประมงพื้นบ้านบ้านลายัน จ.ภูเก็ต ยื่นหนังสือร้องเรียน บาคาร่า ต่อศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดภูเก็ต ขอให้จังหวัดตรวจสอบเอกสารสิทธิ์พื้นที่ป่าชายเลนในเขตหมู่ที่ 6 ตำบลเชิงทะเล หลังมีคนอ้างสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดินเตรียมปิดทางเข้าออกที่จอดเรือประมง
วันนี้ ( 11 มิ.ย.) นายสมศักดิ์ พรหมแก้ว ประธานเครือข่ายประมงพื้นบ้านภูเก็ต
นายเกิน เรืองเดช และ สมาชิกประมงพื้นบ้านบ้านลายันกว่า 20 คน เดินทางมายื่นหนังสือ ร้องเรียนต่อศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดภูเก็ต เพื่อตรวจสอบเอกสารสิทธิ์พื้นที่ป่าชายเลน หมู่ที่ 6 ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต หลังมีคนมาอ้างตัวมีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าว และจะทำรั้วปิดทางเข้าออกคลองที่ชาวบ้านใช้จอดเรือ โดยมีนายประกอบวงศ์มณีรุ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยนายโกวิทย์ เก้าเอี้ยน ประมงจังหวัดภูเก็ต รับหนังสือ
นายสมศักดิ์ ประธานเครือข่ายประมงพื้นบ้าน จังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า พื้นที่ดังกล่าวมีประมาณ 6 ไร่ อยู่ใกล้กับหาดลายัน และมีคลองเข้าไปในป่าชายเลน ซึ่งชาวบ้านใช้เป็นสถานที่จอดเรือ ประมงพื้นบ้านของชาวบ้านในท้องถิ่น โดยนำเรือไปจอด กว่า 30 ลำ และมีการสร้างพื้นที่จอดเรือประมงและสร้างที่เก็บเครื่องมือด้านการประมง ต่อมาได้มี ผู้แอบอ้างเอกสารสิทธิ์ในการครอบครองพื้นที่ป่าชายเลนดังกล่าว
จึงอยากให้จังหวัดช่วยดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าว เพราะเมื่อประมาณ 3 สัปดาห์ที่ผ่านมามีคนมาแจ้งกับชาวประมงให้นำเรือและรื้อสิ่งของไปไว้ที่อื่น เนื่องจากที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินมีเอกสารสิทธิ์ และ จะทำรั้วกั้นเพื่อไม่ให้เรือเข้าออกถ้ามีการปิดทางเข้าออกชาวประมงจะต้องได้รับความเดือดร้อนอย่างแน่นอน การขนถ่ายสัตว์น้ำและการคมนาคมทางน้ำของชาวประมงพื้นบ้านเป็นไปด้วยความลำบากเป็นอย่างมาก จึงอยากให้ทางจังหวัดตรวจสอบที่ดินดังกล่าวว่ามีเอกสารสิทธิ์หรือไม่ และมีได้อย่างไร เพราะที่ชาวบ้านทราบที่ดินดังกล่าวไม่เคยมีเอกสารสิทธิ์ และเป็นที่ดินป่าชายเลนไม่ทราบว่ามีการออกเอกสารสิทธิ์มาได้อย่างไร
ขณะที่นายประกอบ วงศ์มณีรุ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า หลังจากรับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้าน จะรายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตได้รับทราบ พร้อมกันนี้ได้มอบหมายให้ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดภูเก็ตประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อลงพื้นที่ไปตรวจสอบข้อมูลและจะเร่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนโดยเร็วที่สุดโดยจะยึดถือและให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียม
สุดยื้อ “โลมา” เกยตื้นภูเก็ต ติดเชื้อในกระแสเลือดตายแล้ว
โลมาลายแถบคลื่นซัดเกยหาดกมลา-ภูเก็ตเมื่อ 5 วันก่อน ตายแล้วติดเชื้อในกระแสเลือด แม้สัตวแพทย์รักษาเต็มที่ดูแลทุกชั่วโมง ผลผ่าพิสูจน์ไม่พบสิ่งแปลกปลอมระบบภายใน ส่วนซากวาฬหัวทุยแคระที่หาดบ้านเกาะพร้าวพบติดเชื้อเช่นกัน รอผลตรวจชิ้นเนื้ออีกครั้ง
กรณีเจ้าหน้าที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต นำโลมาลายแถบเพศผู้ มาอนุบาลในบ่อพัก เนื่องจากถูกคลื่นซัดขึ้นมาเกยตื้นหน้าหาดกมลาเมื่อวันที่ 6 พ.ย.ที่ผ่านมา ในสภาพอ่อนแรง ต้องใช้เสื้อชูชีพพยุงไว้ตลอดเวลา พร้อมให้น้ำเกลือและเจาะเลือดเพื่อประเมินผลการรักษาและดูอาการเป็นรายชั่วโมง
สัตวแพทย์หญิงชวัชญา เจียกวธัญญู และนายสัตวแพทย์ปฐมพงศ์ จงจิตต์ สัตวแพทย์ประจำกลุ่มกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก กล่าวว่า ล่าสุดโลมาตายแล้วจากการติดเชื้อในกระแสเลือด พบม้ามอักเสบ และหลุมในกระเพาะอาหาร จากการผ่าพิสูจน์ไม่พบสิ่งแปลกปลอมในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นการป่วยตายตามธรรมชาติ
ส่วนวาฬหัวทุยแคระ เพศผู้ ที่ชาวบ้านเกาะมะพร้าว หมู่ 6 ต.เกาะแก้ว อ.เมือง จ.ภูเก็ต พยายามช่วยกันส่งกลับลงทะเลหลังว่ายเข้าหาฝั่ง เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา และตายในเวลาต่อมานั้น ผลจากการผ่าพิสูจน์พบว่า วาฬหัวทุยแคระป่วยตายตามธรรมชาติ ซึ่งอาการป่วยมีภาวะช็อก สำลักน้ำ มีลักษณะของการติดเชื้อ พบแผลหลุมที่กระเพาะอาหาร มีฟองอากาศในหลอดลมค่อนข้างมาก โดยเฉพาะพยาธิ ตามธรรมชาติแล้วสามารถเจอได้ แม้ในตัวที่แข็งแรง แต่วาฬหัวทุยแคระตัวนี้มีพยาธิมากกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่จะตัดชิ้นเนื้อไปตรวจสอบหาสาเหตุอีกครั้งว่าป่วยด้วยโรคใด ซึ่งวาฬหัวทุยแคระนั้นพบเห็นไม่บ่อยนัก และนับเป็นตัวแรกของปีนี้ที่พบวาฬชนิดดังกล่าว
ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียที่เข้าร่วมโครงการ Upcycing the Ocean ,Thailand โดยมีเป้าหมายเพื่อรณรงค์และบริหารจัดการขยะในเมืองท่องเที่ยวทางทะเลหลักๆ ของประเทศไทยคือ เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง,จังหวัดภูเก็ตและเกาะสมุย,เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือนจำนวนมากและเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปริมาณขยะมากขึ้น โดยโครงการฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยวแถบชายฝั่งทะเลของไทยและการจัดการแหล่งท่องเที่ยวด้วยนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงกระตุ้นจิตสำนึกสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน ได้แก่ หน่วยงานที่ดูแลพื้นที่ทะเลและชายฝั่ง,ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวชุมชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ฯลฯ ในการร่วมกันรักษาทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนกระตุ้นให้เกิดกระแสการอนุรักษ์ท้องทะเลไทยและส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ ทั้งนี้ได้มีการเข้าไปบริหารจัดการขยะและนำขยะพลาสติกมาสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยนำไปแปรรูปเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตและออกแบบเป็นสินค้าแฟชั่น เช่นเสื้อผ้า,กระเป๋า,รองเท้า บาคาร่า